ลักษณะของโคมล้านนา
ลักษณะของโคมล้านนา มีอยู่ 3 ลักษณะ
1.โคมถือ แบ่งได้ 2แบบ คือ
1.1 โคมดอกบัว รูปแบบเหมือนดอกบัวตูมใช้สำหรับพระ หรือตั้งพระพุทธรูป
1.2 โคมหูกระต่าย
(อ่าน “โกมหูกระต่าย”) หมายถึง พรหมวิหารสี่ จะใช้ถือเดินในขบวนแห่ จากนั้นไปประดับบริเวณรอบโบสถ์ หรือสถานที่ๆมีพิธีการ หรือบริเวณหน้าบ้าน โคมหูกระต่ายมี 4 ด้าน ซึ่งเปรียบกับ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นโคมที่ใช้ประดับในเทศกาลยี่เป็ง (วันลอยกระทง) หรือวันเพ็ญเดือนสิบสอง สามารถแยกได้เป็นสองส่วน คือ ส่วนที่ให้แสงสว่างและส่วนที่เป็นเรือนโคม ส่วนที่ให้แสงสว่างนั้นมักใช้ประทีปมากกว่าตะเกียง และในระยะหลังนิยมใช้ไฟฟ้าแทนประทีป
โคมหูกระต่ายมีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างประมาณ 10 เซนติเมตร เจาะรูทั้งสี่มุม ใช้ไม้ไผ่เหลาขนาดประมาณครึ่งเซนติเมตรปักลงในรูนั้น ทำเป็นปีกขึ้นไปโดยตัดขอบบนให้โค้งและสูงประมาณ 20 เซนติเมตร ด้านบนให้กว้างประมาณ 15 เซนติเมตร จะได้เรือนโคมลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมมีปลายบานออกจากกัน ใช้กระดาษว่าวหรือกระดาษแก้วสีต่างๆปิดทับทั้งสี่ด้านของเรือนโคมและเปิด ช่องด้านบนเมื่อใช้งานก็วางประทีป หรือเทียนที่จุดไฟลงกลางเรือนโคม
ส่วน ฐานของโคมหูกระต่ายนั้น อาจทำด้วยกาบกล้วยชิ้นจากลำต้นมะละกอหรือแผ่นไม้ ก็ได้ และอาจใช้วางประดับอยู่กับที่หรืออาจทำให้ถือไปได้นั้นฐานของเรือนโคมอาจทำ ด้วยไม้สักเจาะรูตรงกลางสำหรับใส่ด้ามถือ ซึ่งมีความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร
2. โคมแขวน หรือ โคมค้าง คือโคมที่จะต้องติดหรือแขวนไว้บนค้าหรือที่สูงๆดวงโคมที่นำมาติดตั้งบนค้าง นี้ มักทำโครงด้วยไม้ไผ่ปะด้วยกระดาษ เป็นโคมทรงกลมหักมุมที่เรียกว่าโคมรังมดส้ม มีประทีปหรือเทียนจุดให้สว่าง ทั้งนี้อาจทำเป็นรูปอื่น อาทิเช่น รูปหมี รูปไก่ รูปนกยูง รูปดาวห้าแฉก รูปเครื่องบิน รูปจรวด ก็อาจทำได้ตมที่เห็นว่างาม และอาจยังต้องใช้โคมญี่ปุ่นหรือจีนมาทำโคมค้างก็ได้ มีดังนี้
2.1 โคมเพชร หรือโคมไห หรือโคมดิ่ง เป็นโคมที่พัฒนามาจากโคมรังมดส้ม หรือโคมเสมาธรรมจักรนั่นเอง โคมเพชรเรียกชื่อตามลักษณะของรูปทรงที่มีลักษณะเหมือนของจริงวัสดุที่ใช้ใน การประดิษฐ์ไม่แตกต่างจากโคมอื่นๆเลย
2.2 โมดาว เป็นโคมที่ประยุกต์ขึ้นมาใหม่จากโคมดั้งเดิมแต่ยังคงใช้วัสดุ และวิธีการเดิม แต่ดัดแปลงในรูปแบบของโครงสร้างการขึ้นโครงของตัวโมเท่านั้นที่ต้องหักไม้ ไผ่เป็นแฉก 5 แฉกคล้ายรูปดาว ส่วนลวดลายประดับบนตัวโคมคงใช้ลายที่แตกต่างจากโคมอื่น นั้นคือ ลายแก้วชิงดวง เป็นลวดลายที่คงเอกลักษณ์ของความเป็นล้านนา
2.3 โคมทรงกระบอก แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
- โคมงวงช้าง ซึ่งยาวกว่า และใช้จุดบูชาหน้าพระประทาน
-โคมกระบอก
2.4 โคมแปดเหลี่ยม หรือ โคมธรรมจักร มีแปดด้าน หมายถึง มรรคมีองค์แปด
2.5 โคมเจียรนัย หรือ โคมเดี่ยว
2.6 โคมผัด (หมุน) โดยใช้ความร้อนจากควันเทียนทำให้หมุน มีสองชั้นด้วยกัน ชั้นในจะมีแกนฝนเป็นลักษณะเข็มวางไว้ และจะมีลวดลายต่างๆเวลาหมุนเงาลวดลายจะปรากฏที่ชั้นนอก ส่วนมากโคมผัดจะตั้งไว้ที่วัดและเคลื่อนย้ายไม่ได้ โคมผัดเป็นโคมที่หมุนได้ ซึ่งคล้ายกับทางภาคกลาง เรียกว่า โคมเวียน โคมนี้ทำเป็นรูปทรงกระบอก ขนาดกว้างประมาณ 50 เซนติเมตร สูงประมาณ 70 เซนติเมตร หุ้มด้วยกระดาษสาหรือกระดาษสา หรือกระดาษว่าวสีขาวอาจทำเป็นสองชั้นเดียวกันก็ได้หากทำครอบสองชั้นแล้ว ชั้นในจะมีภาพต่างๆปิดไว้เป็นระยะๆพองาม มีสายหรือซี่โยงจากกรอบเข้าหาแกนกลางซึ่งทำเป็นตุ่มใส่ไว้ในก้นถ้วย ปิดแถบกระดาษเข้ากับสายหรือซี่นั้นโดยให้มีมุมและระยะที่ลงตัว เมื่อจุดเทียนซึ่งติดตั้งไว้กลางโคมนั้น ความร้อนจากเปลวเยนจะไปกระทบกับแถบกระดาษและจะผลักให้ส่วนที่เป็นโค้งครอบ นั้นให้ผัด คือหมุนไปเรื่อยๆ เงาของภาพที่ปิดไว้จะส่องไปกระทบกับครอบชั้นนอก สร้างความเคลื่อนไหวด้วยแสงเงาได้ระดับหนึ่ง
2.7 โคมรูปสัตว์ต่างๆ
เป็นโคมซึ่งได้พัฒนาดัดแปลงจาดความคิดของผู้ที่ประดิษฐ์จากโคมที่มีมาแต่ดั้งเดิมมาเป็นรูปสัตว์ต่างๆ
3. โคมลอย เป็นคำที่ภายหลังที่ใช้เรียกเครื่องเล่นทำด้วยกระดาษลักษณะเป็นถุงขนาดใหญ่ ใช้ลมร้อนบรรจุภายในให้ลอยขึ้นไปได้ เดิมเรียก ว่าวรม (อ่าน “ว่าวฮม”) หรือว่าวควันเป็นโคมที่ทำจากการต่อกระดาษว่าวเป็นโคมขนาดใหญ่เป็นทรงกลม หรือสี่เหลี่ยม ตรงปากใช้ไม้ไผ่ขดเป็นวงกลมพอให้ใช้ไม้ไผ่ขดเป็นวงกลม พอให้ใช้ไม้ที่พันผ้าและชุบน้ำมันให้เกิดควัน นำไม้จุดไฟนี้เข้าไปในวงกลมนี้ทำให้ควันอยู่ข้างใน เมื่อปล่อยควันเข้าไปจนกระทั่งโคมนั้นลอยขึ้นสู่อากาศ อาจจะมีการนำเงิน หรือเขียนหนังสือติดไปด้วย หรือส่วนใหญ่มักจะใส่ประทัดเป็นหางเมื่อจุดขึ้นไประยะหนึ่ง ก็จะเกิดเสียงดัง
คติ การปล่อยโคมนี้เพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ หรือบูชาผู้ให้กำเนิดตนคือ พ่อเกิด แม่เกิด โดยเฉพาะผู้ที่เกิดปีจอ ต้องไหว้บูชา พระเกศแก้วจุฬามณีเจดีย์ หรือเป็นการสะเดาะเคราะห์จึงนิยมทำโคมลอย และในอีกประโยชน์หนึ่ง คือ สมัยโบราณเมื่อเกิดสงคราม ก็จะใช้โคมลอยไปยังเมื่อของข้าศึกพอดีกับธูปไหม้ลงถึงดินไฟ ก็จะระเบิดติดกระดาษโคม ทำให้ลูกไฟตกลงยังค่าย บ้านเรือนข้าศึก โคมลอยนี้จะเป็นโคมชนิดเดียวที่จะจุดล่อยในเวลากลางวัน โดยเฉพาะในตอนเช้าถึงเที่ยงเป็นส่วนมาก
ใน ปัจจุบันไม่ได้เจาะจงใช้เฉพาะงานยี่เป็ง หรือ เทศมหาชาติ แต่จะใช้เป็นพุทธบูชาได้ตลอดปี และยังใช้ในการประดับตกแต่งบ้านเรือน อาคารสำนักงาน ตลอดทั้งโรงแรมต่างๆ เพื่อให้ได้ความรู้สึกและบรรยากาศแบบล้านนา อย่างสวยงาม ซึ่งโคมนี้แม้จะรับอิทธิพลจากหลายๆประเทศแต่ในปัจจุบันที่หลงเหลืออยู่ที่ เห็นชัดก็จะมีแต่ในจังหวัดเชียงใหม่หรือจังหวัดใกล้เคียงเท่านั้น
วิธีการทำโคมลอย
เริ่มจากต้องเหลาไม้ไผ่ทำเป็นวงๆ เตรียมไว้สำหรับทำปากโคมลอย นำกระดาษสาสีขาวแผ่นบางๆ มาทากาวต่อกันจำนวน 4 แผ่น สำหรับโคมลูกเล็กสุด นำกระดาษสี่เหลี่ยมจตุรัสแผ่นเล็กๆ มาเชื่อมต่อตรงที่หัวของโคมลอย ส่วนตรงปลายนำวงไม้ไผ่มาติดเป็นวงกลม ทำเป็นปากโคม
นำไปตากแดดให้กาวแห้ง ถ้ายังไม่นำไปปล่อยหรือไปลอย ก็พับเก็บไว้ หากจะปล่อยต้องมีอุปกรณ์เสริม โดยนำม้วนกระดาษทิชชู่มาตัดเป็นท่อนเล็กๆ ชุบกับเทียนขี้ผึ้งและผึ่งไว้ให้แห้งสนิท นำมาผูกติดที่ปากโคมลอย เมื่อเราจะปล่อยก็จุดไฟให้ควันเป็นตัวดันให้โคมลอยขึ้น หากต้องการความสวยงามต้องปล่อยทีละหลายๆ ลูก เท่านี้ก็จะได้เห็นโคมลอยสวยสมใจอยู่บนท้องฟ้า
ที่มา http://khomlanna.blogspot.com/2011/01/3-1.html
http://www.qoolive.com/show_blog/1671/us/hongyoke/t/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A2
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น